วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

project2



Trace (ร่องรอย)


·ร่องรอย ตามความหมายของพจนานุกรมไทย คือ เค้าเงื่อนหรือเบาะแสที่ปรากฎเป็นแนวบอกให้รู้


·ฉะนั้น ร่องรอยก็เปรียบเสมือนการสื่อสารอย่างหนึ่ง ที่เป็นแบบทั้งเจตนาหรือไม่เจตนา เพราะว่าการสื่อสารคือการติดต่อถึงกันระหว่างฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง


· ร่องรอยก็ถือว่าเป็นการสื่อสารเช่นกันการที่มีฝ่ายได้ฝ่ายหนึ่งกระทำสิ่งใดไว้แล้วปรากฎว่ามีร่องรอยทิ้งไว้ แล้วมีอีกฝ่ายหนึ่งมาพบเจอเกิดการรับรู้ (อาจรับรู้ทั้งทางตา สัมผัสทางกาย ดมกลิ่น รับรส)แล้วตีความหมายถือว่าเป็นการสื่อสาร




วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

MUJI มาแว้ว

Kenya Hara เค้าก้อเป็นหนึ่งในกลุ่มสมาชิก ของMUJI creative director น่ะเป็นมาตั้งแต่ปี2001แล้ว แถมปีนั้นเค้ายังได้รางวัลการออกแบบชนะเลิศของ Tokyo Art Director Club Grand Prix Award อีกตะหาก ไอ้ MUJI เนี้ยะมันคืออะไรน่ะหรอMUJI มีถิ่นกำเนิดคือ ประเทศญี่ปุ่น ราวปี 1980 ... ซึ่งแปลได้ความหมายว่า "สินค้าที่ไม่มีแบรนด์ แต่มีคุณภาพ" โดยเขาตั้งใจจะขายสินค้าทั่วๆไป ดีไซน์เรียบง่าย ในราคาพอเหมาะพอควร และที่สำคัญคือคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
สินค้าของ MUJI มีตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ!!! .. ไม่ถึงขั้นน้าน แต่ก็แบบว่า มีกระทั่งขนมขบเคี้ยว น้ำผลไม้ ชา ช็อกโกแลต เครื่องครัว เครื่องเขียน เครื่องสำอาง เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ มีเครื่องเสียงด้วยอ่ะ ไปกระทั่งรถจักรยานดีไซน์โบราณน่ารักๆ .. เรียกว่า ของที่คุณใช้ในชีวิตประจำวัน มีหมดล่ะในร้าน MUJI
ไอ้ความที่ไม่ต้องการมีแบรนด์ของ MUJI กลายเป็นความเท่ เขาว่ากันว่าใช้หลักแนวคิดของเซนในการออกแบบ คือ ความเรียบง่าย ..ก็ถูกใจคนญี่ปุ่นเขาล่ะ แถมข้ามไปลามถึงอังกฤษ หลังๆมานี่ก็ฮิตในย่านเอเชีย อย่าง ฮ่องกง เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ .. ไม่ยักกะมาเมืองไทยแฮะ แต่เดาได้ว่า ถ้ามาเจ๊งแหงมๆ .. หรือคุณว่าไง
เอกลักษณ์ของ MUJI คงจะเป็น packaging ที่เรียบๆ ไม่มีสีสัน ลวดลาย มีแค่กระดาษสีมอๆ พิมพ์สีแดงเข้มๆ ตัวหนังสือดำๆ บอกว่าคืออะไรเท่านั้น ไม่มี Logo ไม่มี Icon อะไรใดๆทั้งสิ้น แต่ไอ้กระดาษแผ่นเนี้ย คนซื้อกลับไม่ยอมแกะออกแฮะ เพราะมันเสมือนเป็น identity ว่านี่ล่ะ คือ MUJI


อ๋อแล้วรู้สึกว่า มันจะมาเปิดเมืองแล้วด้วย แถว central ชิดลม และ central world plaza อ่ะ

งั้นเรามาดูผลงานที่คณฮาระเค้าออกแบบให้กับMUJI กันดีกว่า

เนี้ยะเป็นแกงเขียวหวานที่คุณพี่เค้าออกแบบไง โฮะๆๆๆๆ

ผลงานใหม่ๆของkenya hara




Designers' Saturday ll เป็นงานนิทรรศการน่ะค่ะ งานนี้ฮาระเค้าก้อออกแบบผลลงานมาจัดแสดงด้วยน่ะมีผลงานเด่นๆแปลกมาให้ดูกันด้วย
รูป1 ทางซ้ายน่ะ เป็นผลงานของคุณพี่เค้า เป็นโคมไฟผม ดูแล้วพิลึกดีมั้ยล่ะ เค้าใช้ผมจริงๆมั้งมาทำ ส่วนรูปที่2 คือจานรองแก้วลายลุกอ๊อด ผลงงานชิ้นนี้ฮาระตั้งใจจะเล่นกับทรงจีโอเมตริก มันจะให้ความรู้สึกเวลาเราส่องกล้องในห้องวิจัยน่ะ ถ้าวางแก้วน้ำบนจานรองนี้ก้อเหมือนกับว่ามีลูกอ๊อดอยู่ในน้ำเลย รูปที่3 เป็นผลงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์น่ะ จานผักกาด ดูยังงัยก้อกะหล่ำปลี คือผลงานชิ้นนี้เราว่าเจ๋งดีน่ะ ไอ้ผักกาดเนี้ยะมันสามารถถอดออกได้เป็นใบๆ เหมือนกับผักกาดจริงๆนั้นแหละ พอถอดออกมาแล้วก้อนำมาเป็นจานไง เปนงัยเจ๊งไหมล่ะสวยแล้วยังสร้างสรรค์อีก รูปสุดท้ายเป็นเป็นผลงาน "ปาจิงโกะน้ำ" ไอ้ปาจิงโกะเนี้ยะมันเปนเกมที่พี่ยุ่นเค้านิยมเล่นกัน เมืองไทยก้อเล่นเหมือนกันแต่รู้ว่าตอนเด็กๆน่ะ แต่คงยังไม่มีใครเคยเล่นแบบนี้แน่ ก้อเพราะว่าปกติธรรมดามาจะต้องลูกเหล้กอะไรประมาณเนี้ยะใช่ป่ะแต่เนี้ยะเป็น น้ำ น่ะ โห้คิดได้เนอะ ดีหาง่ายด้วยถ้ามันหายก้อแค่หยดน้ำใหม่ แต่ถ้าตัวเกมหายคงต้องซื้อใหม่อ่ะ

ผลงานKenya Hara(part 2)

AGF (Ajinomoto General Food Inc.) Brand management

ผลงานชุดนี้ฮาระได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับ 2 brand ของกาแฟ "maxim" and "BLENDY"maximจะออกแบบเป็น Premium สินค้าส่วนใหญ่เป็นคนญี่ปุ่นที่ชอบดื่มกาแฟสไตล์ คาเฟ่ส่วน BLENDY จะเน้นตีตลาดยุโรป การออกแบบจึงเน้นให้เป็นแบบสากล ทั่วไป ที่ดูเข้าใจง่ายเน้นสีที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งทั้ง2ผลงานนี้ฮาระได้ออกแบบทั้งตัวโลโก้และpackage ด้วย







Matsuya Renewal Project


นอกจากฮาระจะออกแบบด้านสื่อสิ่งพิมพ์แล้วฮาระยังได้ออกแบบงานที่เป็น Signage System .ให้เข้าสถาปัตยกรรมอีกด้วย
อย่างเช่น การออกแบบเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ให้กับ Matsuya Department Store located in Ginza, Tokyo's essential and traditional entertainment district,












Umeda Clinic Signage System


ผลงานนี้ฮาระออกแบบ signage system ซึ่ง materail ที่ใช้ในการdesignนี้คือ ผ้าคอตตอนเค้าใช้ผ้าคอตตอนในการออกแบบทั้งหมด






Re- Design Exhibition



คือการแสดงผลงานของนักออกแบบหลากหลายทั้ง สถาปนิก นักออกแบบผลิตภัณฑ์ กราฟฟิคดีไซน์เนอร์ แฟชั่นดีไซน์เนอร์ อาร์ตติส ช่างภาพ และนักเขียน เป็นการรวมตัวของเรานักออกแบบ ศิลปินที่เเล็งคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร จึงสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นการ รี - ดีไซน์ โดยมี therm ที่ว่าด้วยเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ผลงานนี้ฮาระเองได้ออกแบบผลงานหลายชิ้นด้วยกันอย่างเช่น ผลงานกระดาษทิชชู ไม้ขีดไฟที่แสนธรรมชาติๆ และยังมีอีกหลายผลงานอีกแต่ละชิ้นล้วน โค-ต designเลย












CD354 (Kenya Hara)






KENYA HARA

เขาเกิดในปี 1958 เป็นคนญี่ปุ่น ฮาระเป็น Graphic Designer ปัจจุบันเขาเป็น Representative ให้กับ บริษัท The Nippon Design Inc. และยังเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทลัยที่ Musashino Art University
ฮาระเป็นนักออกแบบที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสื่อสารในหลายๆโปรเจ็ก และยังเป็นที่ยอมรับกับทั่วโลก
ฮาระมีส่วนช่วยในการพัฒนางาน Design ที่เจาะลึกลงไปในทางวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่น โดยเฉพาะผลงานออกแบบ โปรแกรมพิธีเปิดพิธีปิดกับงาน Nagono Winter Olympic Games และผลงานออกแบบทำ Promotional Campaign for the AICHI Expo 2005 เนื่องด้วยงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่น ผสมผสาน กับรูปแบบที่ตัดทอน แบบสไตล์ modern ทำให้งานออกแบบสไตล์นี้แทบจะกลายเป็นงานศิลปะญี่ปุ่นแบบสมัยใหม่ มีผลต่องานออกแบบผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นด้วย ฮาระได้ออกแบบผลิตภัณฑ์เหล้าสาเกของญี่ปุ่นและ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร เขาออกแบบ package ให้กับ product of Nikka Whiskey Distilling Co. และ Ajinomoto General Food Inc.(AGF)
ฮาระยังได้ทำงานออกแบบให้กับ Ginza Mutsuya ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นงาน Renewal project โดยงานนี้เขาออกแบบเน้น space และเขายังได้ออกแบบ signage system ให้กับ the Umeda Clinic
นอกจากนั้นเขายังเป็น producer ให้กับงานจัดนิทรรศการอย่าง “Macaroni Exhibition of Architects”
และ “Re-Design: The Daily Products of the 21 century”
ฮาระได้รับรางวัลต่างมากมาย
The "Re-Design" exhibition was awarded both the Icograda Excellence Award and the Icsid Design Excellence Award at the 17th Biennial of Industrial Design. It also received the Mainichi Design Award 2000.
Kenya Hara เป็นสมาชิก MUJI ในปี2001 และในปีเดียวกันนั้น เขาทำ Ad Campaign สำหรับลูกค้า MUJI ซึ่งผลงานนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลชนะเลิศในTokyo Art Directors Club Grand Prix Award.


Nagano Winter Olympic Games Programes


นี่คือผลงานการออกแบบของฮาระ ที่เขาได้ทำการงานออกแบบให้กับ Nagano กีฬาโอลิมปิก ฤดูหนาว ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ ซึ่งฮาระได้เลือก material ที่ใช้ในการออกแบบให้เข้ากับภาพลักษณ์ที่สร้างไว้คือ “snow and ice” ฮาระเลือใช้วัสดุและเทคนิคที่หลากหลายมาใช้ เลือกลักษณะของกระดาษที่ดูโป่งพอง











Expo 2005 AICHI Promotion





ในปี 1997 Japan's Aichi Prefecture was chosen to host the first World Exposition of the 21st centuryโดยที่ theme งานนี้เป็น "Natureユs Wisdom"
เป็นนิทรรศการที่แสดงเกี่ยวกับ สิ่งแวดดล้อมที่เป็นมิตร กระตุ้นจัดแสดงให้ผู้คนสนใจต่อธรรมชาติ ความกลมกลืนกับธรรมชาติ และไม่ธรรมชาติ ฮาระได้ออกแบบ โปสเตอร์ ปฎิทิน






Nikka Whiskey Distilling